วันพฤหัสบดีที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2554

บุคคลในอุดมคติ

บุคคลในอุดมคติ
บุคคลในอุดมคติ
บุคคลในอุดมคติ

 




  
ธรรมคำสอนของท่านพุทธทาสภิกขุ  ล้วนแล้วแต่สอนอย่างถึงแก่นถึงแกน  ที่ถูกต้องดีงาม  สมดั่งพระพุทธประสงค์
ท่านทำหน้าที่ได้สมดังฉายาขององค์ท่านว่า "พุทธทาส" โดยบริบูรณ์
ผู้เขียนได้เลือกLink ไปยังWeb พุทธทาส.คอม ที่เห็นว่าเกื้อหนุนให้เกิดความเข้าใจในธรรม อันเนื่องกับธรรมในWebนี้
นอกจากLinkเหล่านี้แล้ว ยังมีธรรมะต่างๆที่น่ารู้  น่าศึกษา เป็นแก่นเป็นแกนของท่านอีกเป็นจำนวนมาก
ใน พุทธทาส.คอม และที่ พุทธทาสศึกษา
การศึกษาข้อธรรม,ข้อเขียนของท่านนั้น  ควรศึกษาอย่างพิจารณา วางใจเป็นกลาง วางความเชื่อ ความยึดเดิมๆ ชั่วขณะ
พิจารณาตามเหตุตามผล เพราะข้อธรรมคำสอนของท่านนั้น เป็นการสอนอย่างตรงไปตรงมาเป็นที่สุด
จึงมักขัดแย้งกับความเชื่อ(ทิฏฐุปาทาน) ความยึดเดิมๆ(สีลัพพตุปาทาน)ตามที่ได้สืบทอด อบรม สั่งสมมา
อันแอบซ่อน,แอบเร้นอยู่ในจิตโดยไม่รู้ตัว จึงทำให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ และยอมรับได้ยาก
ต้องใช้การโยนิโสมนสิการในการพิจารณาในข้อธรรมบรรยายของท่านด้วยใจเป็นกลาง อย่างหาเหตุหาผล จึงจักได้รับประโยชน์สูงสุด

คติประจำใจ

  If you can dream it, you can do it 
      = ถ้าคุณฝันได้ คุณก็ทำได้
Valentine Day






วันวาเลนไทน์


      วันนักบุญวาเลนไทน์ (Saint Valentine's Day) หรือที่เป็นที่รู้จักว่า วันวาเลนไทน์ (Valentine's Day) ตรงกับวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็นวันประเพณีที่คู่รักบอกให้กันและกันทราบเกี่ยวกับความรักของ พวกเขา โดยการส่งการ์ดวาเลนไทน์ ซึ่งโดยมากจะไม่ระบุชื่อ วันนี้เริ่มเกี่ยวข้องกับความรักแบบชู้สาวในช่วงยุค High Middle Ages เมื่อประเพณีความรักแบบช่างเอาใจ (courtly love) แผ่ขยาย

 ประวัติ
         วันวาเลนไทน์นั้นมีมาตั้งแต่สมัยจักรวรรดิโรมัน ในกรุงโรมสมัยก่อนนั้น วันที่ 14 กุมภาพันธ์ จะเป็นวันเฉลิมฉลองของจูโน่ซึ่งเป็นราชินีแห่งเหล่าเทพและเทพธิดาของโรมัน ชาวโรมันรู้จักเธอในนามของเทพธิดาแห่ง อิสตรีและการแต่งงาน และในวันถัดมาคือวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ก็จะเป็นวันเริ่มต้นงานเลี้ยงของ Lupercalia การดำเนินชีวิตของเด็กหนุ่มและเด็กสาวในสมัยนั้นจะถูกแยกจากกันอย่างเด็ดขาด แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีประเพณี อย่างนึง ซึ่งเด็กหนุ่มสาวยังสืบทอดต่อกันมา คือ คืนก่อนวันเฉลิมฉลอง Lupercalia นั้นชื่อของเด็กสาวทุกคนจะถูกเขียนลงในเศษกระดาษเล็ก ๆ และจะใส่เอาไว้ในเหยือก เด็กหนุ่มแต่ละคนจะดึงชื่อของเด็กสาวออกจากเหยือก แล้วหลังจากนั้นก็จะจับคู่กันในงานเฉลิมฉลอง บางครั้งการจับคู่นี้ ท้ายที่สุดก็จะจบลงด้วยการที่เด็กหนุ่มและเด็กสาวทั้งสองนั้นได้ตกหลุมรัก กันและแต่งงานกันในที่สุด
ภายใต้การปกครองของจักรพรรดิคลอดิอุสที่สอง (Claudius II) นั้น กรุงโรมได้เกิดสงครามหลาย ครั้ง และคลอดิอุสเองก็ประสบกับปัญหาในการที่จะหาทหารจำนวนมากมายมหาศาลมาเข้าร่วม ในศึกสงคราม และเขาเชื่อว่าเหตุผลสำคัญก็คือ ผู้ชายโรมันหลายคนไม่ต้องการจากครอบครัวและคนอันเป็นที่รักไป และด้วยเหตุผลนี้เอง ทำให้จักรพรรดิคลอดิอุสประกาศให้ยกเลิกงานแต่งงานและงานหมั้นทั้งหมดในกรุง โรม ถึงกระนั้นก็ตาม ยังมีนักบุญผู้ใจดีคนหนึ่งซึ่งชื่อว่า ท่านนักบุญวาเลนไทน์ ท่านเป็นพระที่กรุงโรมในสมัยของจักรพรรดิคลอดิอุสที่สอง ท่านนักบุญวาเลนไทน์และนักบุญมาริอุส ได้จัดตั้งกลุ่มองค์กรเล็ก ๆ เพื่อช่วยเหลือชาวคริสเตียนที่ตกทุกข์ได้ยากเหล่านี้ และได้จัดให้มีการแต่งงานของคู่รักอย่างลับ ๆ ด้วย
และจากการกระทำเหล่านี้เอง ทำให้นักบุญวาเลนไทน์ถูกจับและถูกตัดสินประหารโดยการตัดศีรษะ ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ประมาณปีคริสต์ศักราชที่ 270 ซึ่งถือเป็นวันที่ท่านได้ทนทุกข์ทรมานและเสียสละเพื่อเพื่อนมนุษย์

นักบุญวาเลนไทน์

         เมื่อเห็นนักบุญวาเลนไทน์ดังนั้น ท่านผู้ว่าราชการเกิดความอิจฉา และต้องการกำจัดท่านวาเลนไทน์ จึงจับท่านวาเลนไทน์ไปขังไว้ในคุกมืด แล้วใช้ไม้เป็นปุ่มเป็นตาเฆี่ยนท่านอย่างสาหัส ที่สุดก็นำท่านไปตัดศีรษะ นักบุญวาเลนไทน์เป็นองค์อุปถัมภ์ของชาวเมืองตารัสก็อง(ภาคใต้ของฝรั่งเศส)


การส่งดอกไม้วันวาเลนไทน์

มนุษย์ได้ใช้ดอกไม้เป็นสื่อในการแสดงความรักต่อกันมานานแล้ว เราอาจจะคิดว่าดอกไม้เป็นสิ่งที่สามารถใช้สื่อความหมายเฉพาะความรักของหนุ่ม สาวเท่านั้น แต่แท้จริงแล้วดอกไม้แต่ละชนิดสามารถสื่อความรักได้หลายรูปแบบ ทั้งยังไม่จำกัดอายุและเพศอีกด้วย
  • กุหลาบแดง (Red Rose) : จะใช้ในความหมายแทน ประโยคที่ว่า "ฉันรักเธอ"
  • กุหลาบขาว (White Rose) : กุหลาบขาวแทนความหมายแห่งความรักอันบริสุทธิ์
  • กุหลาบชมพู (Pink Rose) : มักถูกใช้แทนความรักแบบโรแมนติก และความเสน่หาต่อกัน
  • กุหลาบเหลือง (Yellow Rose) : สีเหลืองเป็นสีแห่งความสดใส แทนความรักแบบเพื่อน

Credit: http://th.wikipedia.org



 





วันพฤหัสบดีที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2554

Time

ปฏิทินไทย
                 ปฏิทิน แปลว่า แบบสำหรับดู วัน เดือน ปี สามารถเขียนได้เป็น ประติทิน (ภาษาสันสกฤต)
หรือ ประฏิทิน (บาลีแผลง) ประดิทิน หรือ ประนินทิน ก็ได้ คำหลังนี้พบในหนังสือที่เขียนโดย หมอ บรัดเลย์
ในหนังสือ อักขราภิธานศรับท์ หน้า 412 และหนังสือ สยามสมัย หน้าโษณา ของ หมอ สมิท เป็นต้น
แบบสำหรับดู วัน เดือน ปี มีทั้งที่จารึกบนก้อนหิน หรือ ขีด เขียน และพิมพ์บนกระดาษ ซึ่งมีทั้งชนิดเป็นแผ่น
ตั้งแต่ 1 – 12 แผ่น และชนิดพิมพ์เป็นเล่มแบบหนังสือปฏิทินชนิดเล่ม

.





 
การพิมพ์ปฏิทินมีขึ้นเป็นครั้งแรกในเมืองไทย
เมื่อ วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2385 (ปลายสมัย รัชกาล ที่ 3)
ซึ่งสามารถตรวจสอบและค้นคว้าหาหลักฐานไ
จาก ไมโครฟิล์ม หนังสือบางกอกคาเลนดาร์ ปี ค.ศ. 1870 ( พ.ศ. 2413 )
หน้า 5 ในหอสมุดแห่งชาติ หรือค้นคว้าได้จากหนังสือต้นฉบับ
ที่หอสมุดดำรงราชานุภาพ ซึ่งหมอ บรัดเลย์ ได้เขียนไว้ว่า
“ 14 First Calendar print in B. 1842 ” (ไม่บอกว่าใครเป็นผู้พิมพ์ แต่คาดหมายว่า
คือ หมอ บรัดเลย์ ซึ่งเป็นเจ้าของโรงพิมพ์ ผู้มีผลงานทางหนังสือมากมาย)

                 รัชกาลที่ 4 ทรง ฯ โปรดให้พิมพ์ปฏิทินภาษาไทย
(ภายหลังจากที่ หมอบรัดเลย์ พิมพ์ปฏิทินชิ้นแรกในสยาม
เมื่อ พ.ศ. 2385) เมื่อ วันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2404
ดังปรากฏหลักฐานใน หนังสือบางกอกคาเลนดาร์
ฉบับ ปี ค.ศ. 1862 ( พ.ศ. 2405) หน้า 108

                 ในสมัย รัชกาลที่ 5 ปฏิทินที่พิมพ์ในเมืองไทยได้แก่ “ ประนินทิน ”
ซึ่งลงโฆษณาใน หนังสือสยามสมัย ของ หมอสมิท
เขียนคำโฆษณาไว้ตอนหนึ่ง ว่า “ ประนินทินนี้
แจ้งให้รู้ถึงการอื่นเป็นอันมากอันควรคนทั้งปวงจะรู้ ถ้าไม่รู้เขาจะนินทาว่าคนโง่ ”
แจ้งราคาขายไว้เล่มละ 4 บาท (ราคาในสมัยนั้น)
ปัจจุบันยังหาประนินทินของหมอสมิทไม่พบ

                 ปฏิทินในสมัย รัชกาลที่ 6 ที่น่าสนใจได้แก่ปฏิทินพกเล่มเล็กๆ
ที่พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์เป็นของชำร่วย
สำหรับแจกพระราชทาน แก่ขุนนางที่ลงนามถวายพระพร ในวันขึ้นปีใหม่ |
ฏิทินพกแบบนี้ยังมีแจกต่อมาจนถึงรัชกาลปัจจุบัน
ซึ่งบุคคลธรรมดาก็สามารถไปลงนามถวายพระพรและรับปฏิทินหลวงได้
                 การพิมพ์ปฏิทินเล่มยังมีการจัดทำต่อมา จนกระทั่งถึงรัชกาลปัจจุบัน
ปฏิทินเล่มยังมีรายละเอียดในเรื่องของ สภาพภูมิอากาศ
เวลาน้ำขึ้น – น้ำลง การเดินทางของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์
และมีช่องว่างให้บันทึกเล็กน้อย
ยังมีสมุดบันทึกอีกแบบหนึ่ง ซึ่งบอกรายละเอียดของ วัน เดือน ปี
เรียงไปตามลำดับ และมีหน้าสำหรับจดบันทึกหมายเหตุรายวัน
รวมถึงวันสำคัญ และวัน เวลา นัดหมาย ฯลฯ ที่เรียกว่า “ ไดอารี่ ” (Diary)
หรือ ” สมุดบันทึกประจำวัน ”
ก็สามารถอนุโลมให้เป็นปฏิทินได้